คุณพ่อมีบุตรยาก...มีเทคโนโลยีการแพทย์อะไรช่วยได้บ้าง?
ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือ ภาวะที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากพยายามมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิดมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี เพราะในความเป็นจริงนั้น บางคู่ก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตนเองมีปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้มีลูกได้ยาก เช่น ฝ่ายหญิงมีสุขภาพไม่แข็งแรง มีอายุมากกว่า 35 ปี มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ มีประวัติเคยผ่าตัด หรือมีการอักเสบในช่องท้องมาก่อน หรือในฝ่ายชายที่รู้ตัวว่ามีภาวะหย่อนสมรรถภาพ เคยมีอุบัติเหตุ หรือมีการติดเชื้อรุนแรงที่อวัยวะเพศมาก่อน เป็นต้น แต่ภาวะดังกล่าว สามารถพบแพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางเพื่อขอรับการปรึกษาได้
ภาวะมีบุตรยากนั้นไม่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นคนเชื้อชาติใด โดยที่ผ่านมานั้นได้มีการศึกษาที่พบว่า การมีบุตรยากนั้นจะเกิดขึ้นจากฝ่ายหญิงมากกว่าประมาณ 40-50% ในขณะที่ฝ่ายชายจะพบได้น้อยกว่าประมาณ 25-30% ถึงอย่างนั้นสาเหตุที่เกิดจากฝ่ายชายก็อาจเป็นคำถามที่ค้างคาใจคุณพ่อทั้งหลายที่มีบุตรยากแต่ยังอยากมีลูกน้อยมาเติมเต็มความอบอุ่นให้กับครอบครัว
สาเหตุการมีบุตรยากอาจเกิดขึ้นกับฝ่ายชาย เช่น ฝ่ายชายมีอวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติมาแต่กำหนดจนไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ ฝ่ายชายมีพันธุกรรมที่ผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม หรือยีนที่ทำให้ไม่สามารถสร้างเชื้ออสุจิได้ หรือสร้างได้น้อยกว่าปกติ เช่น เชื้ออสุจิมีปริมาณน้อย เชื้ออสุจิอ่อนแอ เชื้ออสุจิมีรูปร่างผิดปกติ หรือแม้แต่เป็นหมัน (ตรวจไม่พบเชื้ออสุจิในน้ำอสุจิ) ฝ่ายชายได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว สารประกอบเบนซีน รวมถึงการใช้ยาบางชนิด มีเป็นผู้สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อน เป็นต้น
หากศึกษาในรายละเอียดจะพบว่า สาเหตุจากฝ่ายชายที่ไม่สามารถทำให้คู่ครองตั้งครรภ์ได้ อาจรวมไปถึงอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ (hypogonadism) ซึ่งเป็นการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกอัณฑะไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ
- ความไม่สมดุลของฮอร์โมนซึ่งทำให้เป็นโรคอ้วนเกินอย่างรุนแรง เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroidism)
- อาการเส้นลำเลียงน้ำเชื้ออสุจิโป่งพอง (varicocele) ซึ่งเป็นอาการที่หลอดเลือดดำภายในถุงอัณฑะโป่งพอง ทำให้ขัดขวางการเคลื่อนตัวของอสุจิ
- ภาวะโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งการทำลายระบบประสาทอาจเป็นสาเหตุของปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศหรือการหลั่งน้ำอสุจิ
- โรคทางพันธุกรรมซึ่งทำให้ความสามารถในการผลิตอสุจิลดลง เช่น โรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
- อัณฑะบิด (testicular torsion) ซึ่งทำให้การส่งเลือดไปที่ลูกอัณฑะถูกตัดขาด
- ภาวะที่ลูกอัณฑะไม่เข้าสู่ถุงอัณฑะ
- โรคร้ายแรงที่อาจมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ตัวอย่างเช่น
- การผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นเหตุทำให้ร่างกายสร้างสารแอนตี้บอดี้ที่เป็นอันตรายต่ออสุจิ
- โรคตับ
- โรคเม็ดเลือดขาวรูปเคียว (sickle cell anemia)
- โรคไต
- การติดเชื้อที่ระบบอวัยวะเพศ เช่น โรคหนองใน และ โรคเริมอวัยวะเพศ
- การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบและโรคท่อน้ำเชื้ออักเสบ
- โรคติดเชื้อ รวมถึงโรคคางทูมด้วย
ปัจจัยเพิ่มเติมและพฤติกรรมที่มีผลต่อภาวะมีบุตรยากรวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย
- ได้รับยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยา cimetidine และ ยา phenytoin
- อาหารเสริมบางชนิด เช่น สเตียรอยด์อนาบอลิก
- ได้รับเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
- ขาด folic acid และ lycopene ซึ่งพบมากในผัก เช่น มะเขือเทศ
- ออกกำลังกายมากเกินไป ซึ่งมีผลให้ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำและลดการผลิตอสุจิ
- ใช้ยาคุมกำเนิด diethylstilbestrol หรือที่รู้จักกันว่า DES
- ได้รับสารพิษเช่น ตะกั่ว ทองแดง หรือยาฆ่าแมลง
- การอาบน้ำด้วยน้ำร้อนหรือนอนแช่ในน้ำร้อนบ่อย ๆ
- ได้รับบาดเจ็บที่ลูกอัณฑะ
- มีจำนวนอสุจิน้อย อ่อนแอ และมีความสามารถในการเคลื่อนที่ต่ำ
- การรักษาโรคด้วยรังสี
- ยาหรือสารที่ใช้เพื่อความสนุกสนาน (recreational drugs) เช่น แอลกอฮอล์ และกัญชา
- ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เช่น การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และการหลั่งเร็ว
- ผลข้างเคียงในการรักษาโรคมะเร็งลูกอัณฑะหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
- การผ่าตัดอวัยวะระบบสืบพันธุ์ เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมากโต
- การทำหมันด้วยการผ่าตัดเพื่อผูกท่อนำอสุจิ
- ใส่กางเกงหรือกางเกงในที่รัดจนเกินไป
แพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำหรือคลินิกเฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญผู้ทำการรักษา จะทำการวินิจฉัยทั้งจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยการซักถามประวัติทางการแพทย์ เพื่อหาสาเหตุเบื้องต้นก่อน จากนั้นแพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางจะทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติม และตรวจภายในของฝ่ายหญิง แล้วส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสาเหตุของการเกิดภาวะมีบุตรยาก โดยสามารถจำแนกการส่งตรวจได้ดังนี้
สำหรับการประเมินภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายนั้นมีหลากหลาย โดยสิ่งที่แพทย์จะตรวจนั้นได้แก่ ประวัติและการตรวจร่างกาย อาจช่วยบอกความผิดปกติที่เป็นสาเหตุได้ เช่น ประวัติการติดเชื้อหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื้องอกในอัณฑะ ประวัตการผ่าตัด กิจกรรมทางเพศ การใช้ยา การใช้หรือการสัมผัสสารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ บุหรี่ รังสี สารสเตียรอยด์ การทำเคมีบำบัด และสารเคมีที่เป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัย รวมถึงการดูองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ขนาดของลูกอัณฑะ ความผิดปกติทางร่างกายบางอย่าง เช่น เส้นเลือดขอดที่อัณฑะ การพัฒนาของลักษณะทางเพศ เป็นต้น
รวมถึงการตรวจน้ำอสุจิซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย ซึ่งการตรวจนี้จะทำให้ทราบถึงคุณภาพและปริมาณโดยรวมของน้ำเชื้อ จำนวนอสุจิ รูปร่างและการเคลื่อนไหวของอสุจิ ก่อนการตรวจ ฝ่ายชายควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือสำเร็จความใคร่ ก่อนการเก็บตัวอย่างน้ำเชื้ออสุจิประมาณ 2-3 วัน หากผลการวิเคราะห์พบว่า อสุจิมีความผิดปกติ แพทย์มักจะมีการขอตัวอย่างน้ำอสุจิเพิ่มเติม เพื่อตรวจซ้ำอีกครั้งในอีก 1-2 สัปดาห์ถัดไป นอกจากนี้ก็จะมีการตรวจเลือด โดยปกติแล้วแพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางจะขอตรวจเลือด ถ้าสงสัยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากฮอร์โมน (จะตรวจเมื่อพบความผิดปกติของน้ำเชื้ออสุจิ) และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การทดสอบทางพันธุกรรม ในรายที่แพทย์สงสัย ก็อาจจะทำการตรวจสอบเลือดอย่างเฉพาะเจาะจง เพราะบางกรณีปัญหาการมีบุตรยาก อาจเกิดจากการขาดหายไปหรือความผิดปกติของโครโมโซมเพศชาย ผู้ชายบางคนอาจสืบทอดยีนที่เกี่ยวข้องกับโรค Cystic fibrosis ซึ่งทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากจำนวนตัวอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์ ในกรณีนี้แพทย์จะต้องหารือกับคู่สมรสถึงความเป็นไปได้ และผลที่จะตามมาจากพันธุกรรม ที่อาจถ่ายทอดไปถึงลูกได้
การตรวจอื่น ๆ ถ้าแพทย์สงสัยว่า มีการอุดตันในส่วนของท่อส่งอสุจิ ก็อาจจะมีการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งการอุดตันนี้อาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อในภายหลังก็ได้ หรือในกรณีที่มีอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่มีเลย แพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางอาจแนะนำให้ตรวจชิ้นเนื้ออัณฑะ เพื่อวิเคราะห์น้ำอสุจิ (ทำในห้องผ่าตัด โดยใช้ยาดมสลบ) และอาจนำเซลล์อสุจิไปแช่แข็ง เพื่อใช้ในการทำเด็กหลอดแก้วต่อไป
การรักษาภาวะการมีบุตรยากของเพศชายจะมุ่งไปยังการรักษาที่สาเหตุของโรคนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีคู่สมรสประมาณ 15 – 20 % สามารถตั้งครรภ์ได้โดยไม่ต้องทำการรักษาใด การรักษาสำหรับภาวะการมีบุตรยากจากฝ่ายชายนั้น ได้แก่
- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำด้วยน้ำร้อนและการนอนแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลานาน ๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายในปริมาณที่พอเหมาะ
- รักษาอาการเส้นเลือดขอดที่ลูกอัณฑะ
- ผ่าตัดเพื่อยกเลิกการทำหมันแบบผูก โดยการเชื่อมต่อท่อนำเชื้ออสุจิอีกครั้ง
- ศึกษาเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งครรภ์
- ปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่จำกัด
- รักษาบำบัดเกี่ยวกับปัญหาด้านฮอร์โมน
- รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วยการปรึกษา การรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัด
- สวมใส่กางเกงในที่ไม่รัดแน่น เช่น กางเกงในประเภทบ็อกเซอร์
หากการรักษาดังกล่าวไม่ได้ผล อาจพิจารณานำวิธีการที่ช่วยเรื่องการมีบุตรมาให้บริการ เช่น
- การผสมเทียม โดยการนำเชื้ออสุจิใส่ที่บริเวณปากมดลูกหรือมดลูกโดยตรง
- การปฏิสนธินอกร่างกาย โดยการนำตัวอ่อนและอสุจิมาผสมกันเป็นตัวอ่อนนอกร่างกาย แล้วนำกลับเข้าไปใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้ตั้งครรภ์
- การฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ วิธีนี้เป็นการทำนอกร่างกายโดยการเจาะผนังเซลล์ไข่เพื่อนำอสุจิเข้าสู่ไข่โดยตรง
และในคู่แต่งงานที่อยากมีจะมีลูก แต่ฝ่ายคุณพ่อเป็นหมันตามธรรมชาติ กรณีนี้เป็นกรณีที่ไม่พบตัวอสุจิในน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาเลยอาจมีหลากหลายสาเหตุ เช่น จากการอุดตันของท่อนำอสุจิ การไม่มีท่อนำอสุจิมาตั้งแต่กำเนิด การมีปัญหาการหลั่ง หรืออสุจิที่หลั่งออกมาไม่มีชีวิตทั้งหมด การอักเสบของอัณฑะที่เกิดจากเชื้อไวรัสคางทูม หรือจากสาเหตุอื่น เป็นผลให้ผู้ประสบปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารถมีบุตรของตนเองได้ นอกจากการใช้อสุจิจากน้ำเชื้อของผู้บริจาคเท่านั้น
ซึ่งวิทยาการทางการแพทย์และความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถช่วยผู้ประสบปัญหาเหล่านี้สามารถมีบุตรได้ โดยวิธี PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) ก็คือ การเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะ โดยการใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังเข้าไปที่ท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเหมาะที่จะใช้รักษาร่วมกับกระบวนการปฏิสนธิ ICSI หรืออิ๊กซี่
และอีกวิธีคือ TESE คือ บริการตัดชิ้นเนื้อเล็ก ๆ จากอัณฑะของฝ่ายชายออกมาบางส่วน จากนั้นจึงนำมาหาอสุจิต่อไป วิธีนี้เป็นวิธีที่สามารถทำได้ในกรณีที่มีการดูดสุจิจากอัณฑะแล้วแต่ไม่พบตัวอสุจิค่ะ ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางจะแนะนำให้ทำ PESA ก่อน เนื่องจากจะเจ็บน้อยกว่า และยังได้น้ำเชื้อกับตัวอสุจิที่มีคุณภาพมากกว่าด้วย แต่หากเข้ารับการรักษาด้วยวิธี PESA แล้วแต่ยังไม่ได้ผล จึงค่อยทำ TESE ต่อไป
ทั้งสองวิธีนี้ทำเพื่อให้ได้ตัวอสุจิ (Sperm) โดยตรงจากอัณฑะเพื่อที่จะนำตัวอสุจิที่ได้ไปผสมกับไข่ในกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายต่อไป หรือที่รู้จักกันในชื่อ ICSI หรืออิ๊กซี่ ซึ่งคุณพ่อที่ต้องการรับการรักษาด้วยวิธีนี้ต้องศึกษาเรื่องราคาค่าใช้จ่ายด้วย เนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง
อย่างไรก็ดี การผ่าตัดหาเชื้ออสุจิส่วนใหญ่พบความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการตกเลือดและการติดเชื้อ แต่จะเกิดขึ้นน้อยมากประมาณ 1% อาจจะมีอาการปวดหัวบ้าง ฉีดยานอนหลับหรือยาสลบได้เหมือนการผ่าตัดทั่วไป
โดยสรุปแล้ว ในปัจจุบันมักไม่ค่อยใช้คำว่าเป็นหมันแล้ว เพราะเทคโนโลยีสามารถช่วยให้คุณพ่อเก็บตัวเชื้ออสุจิได้ ถึงแม้มีน้อยมาก และสามารถทำให้คุณแม่ท้องได้โดยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว ถ้ามีปัญหาจากเชื้อน้อยหรือมีปัญหาชัดเจน โอกาสสำเร็จในการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือการทำ IUI สูงมาก คุณพ่อผู้มีบุตรยากจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการมีบุตรยากหรือการเป็นหมันเหมือนในยุคก่อนอีกต่อไป แต่ยิ่งปล่อยไว้นาน อายุเริ่มมากขึ้นโอกาสจะประสบความสำเร็จทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะลดลงไปด้วย
อ้างอิง
https://bit.ly/3P8KBtV
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/infertility-male
https://bit.ly/3A5F0QT
https://bit.ly/3P7ngbO
https://www.smileivf.com/pesa-tese/
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก
กับศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจินตบุตร