ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF และวิธีการเตรียมตัวของผู้มีบุตรยาก

 

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF และวิธีการเตรียมตัวของผู้มีบุตรยาก

 

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF และวิธีการเตรียมตัวของผู้มีบุตรยาก

 

ในปัจจุบันคู่สมรสที่มีบุตรยากหันมาใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ถึงประมาณ 7,000 รายต่อปี  โดยอัตราความสำเร็จอยู่ที่ร้อยละ 35 แต่ถ้าคู่สมรสอายุมากอัตราความสำเร็จก็ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอายุ 38 ปีขึ้นไป  ซึ่งการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีตั้งแต่การคัดเชื้อเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก (Intrauterine insemination: IUI) เป็นการรักษาการมีบุตรยากที่สะดวก และประหยัด เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ตรวจไม่พบปัญหาทางร่างกายที่ชัดเจนหรือมีความผิดปกติของน้ำเชื้อแค่เล็กน้อย  หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization: IVF) การรักษาที่สะดวก ไม่ต้องเจาะหน้าท้อง และให้อัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูง หรือการฉีดเชื้ออสุจิเพียงหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่หรืออิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection: ICSI) เหมาะสำหรับคู่สมรสที่มีอสุจิน้อยมากจนไม่สามารถปฎิสนธิไข่ได้เองหรือไม่มีตัวอสุจิเลย แต่อัณฑะยังคงมีการผลิตอสุจิอยู่

 

โดยการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF นั้น เป็นวิธีการรักษาโรคมีบุตรยากด้วยวิธีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ในหลอดทดลอง จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่ได้มาเพาะเลี้ยงต่อจนอายุ 3-5 วัน จึงนำกลับเข้าสู่ร่างกายฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ต่อไป IVF หรือเด็กหลอดแก้วก็เป็นนวัตกรรมที่มีความทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้อย่างที่ต้องการ

 

มักมีคำถามว่าเด็กที่เกิดจากวิธีทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF แตกต่างจากเด็กทั่วไปมากน้อยเพียงใด จากการวิจัยของประเทศกลุ่มสแกนดินเวียเช่น ประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน พบว่าไม่มีความแตกต่างใดจากทารกที่เกิดโดยวิธีธรรมชาติ มีอัตราความพิการแต่กำเนิดไม่แตกต่างกัน แต่อาจจะมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า ซึ่งสิ่งนี้คงจะต้องเป็นว่าที่คุณพ่อคุณแม่ที่จะช่วยดูแลลูกน้อยให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในภายหลัง

 

การทำเด็กหลอดแก้วเหมาะกับคู่สมรสที่มีปัจจัยส่งผลให้มีบุตรยาก เช่น คุณแม่มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ท่อนำไข่อุดตันหรือถูกทำลาย  มีภาวะไม่ตกไข่หรือไข่ตกช้าเนื่องจากภาวะหรือโรคบางอย่างที่ทำให้ระบบฮอร์โมนผิดปกติไป และคุณพ่อที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของอสุจิ ได้แก่ จำนวนน้อย รูปร่างผิดปกติ เคลื่อนที่ไม่ดี เป็นต้น

 

อัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ในการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF นั้นขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีหรือวิธีการแล้วความร่วมมือกันของสามีภรรยาในการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้ความร่วมมือในการรับการรักษาในขั้นตอนต่าง ๆ ร่วมกัน มาเป็นเพื่อนภรรยาทุกครั้ง ที่แพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกนัดเท่าที่จะทำได้ อาจจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น

 

ในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ของการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เทคโนโลยีเครื่องมือมากกว่าวิธีอื่น มีราคาค่อนข้างสูง แต่ก่อนที่จะทำเด็กหลอดแก้วนั้น อาจจะลองรักษาด้วยวิธีอื่นเช่น การฉีดเชื้อผสมเทียม การกระตุ้นไข่ การผ่าตัด แต่การทำ IVF ไม่ใช่ว่าจะสำเร็จ 100% เสมอไป เพราะทุก ๆ ครั้งที่ย้ายตัวอ่อนจะมีอัตราสำเร็จเฉลี่ยเพียง 35% ดังนั้นต้องเผื่อใจในกรณีที่ไม่สำเร็จด้วย 

 

ความเป็นไปได้ของการมีลูกจากการทำเด็กหลอดแก้วในกลุ่มผู้หญิงอายุ 34 ปีลงมา อยู่ที่ 30-40% ในการถ่ายฝากตัวอ่อนครั้งแรก และอัตราการเกิดลดต่ำลงมากในกลุ่มผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะคุณภาพของไข่ในฝ่ายหญิงจะเปลี่ยนแปลงตามอายุ และอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ฝ่ายหญิงมีมดลูกไม่แข็งแรงหรือมดลูกทำงานผิดปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงและเป็นอันตรายหากตั้งครรภ์

 

ทั้งนี้ หากเป็นเช่นนั้น แน่นอนว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเอง ก็จะมีอีกหนึ่งวิธีที่ผู้อยากมีบุตรทำกันคือ เก็บไข่และอสุจิของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว แล้วใส่กลับเข้าไปให้อาสาสมัครที่ไว้ใจตั้งครรภ์แทนได้ หรือหากไม่สามารถใช้อสุจิของฝ่ายชายได้ สามารถเลือกรับอสุจิที่มีผู้บริจาคได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนคิดทำเด็กหลอดแก้วคือ อาจไม่สำเร็จในการทำครั้งแรก แต่หากทำครั้งแรกไม่สำเร็จ สามารถทำเด็กหลอดแก้วครั้งต่อไปภายในระยะเวลา 1-2 เดือน แต่ต้องไม่ลืมปรึกษาแพทย์เพื่อดูอาการอย่างต่อเนื่อง

 

อย่างไรก็ตาม การรักษาการมีบุตรยากมิได้มีแต่เพียงการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF เท่านั้น แต่ยังมีวิธีการอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเหมาะกับอาการป่วยของแต่ละคู่ ในมุมที่แตกต่างกันไป ซึ่งสามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการทำเด็กหลอกแก้ว และเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องการมีลูกแบบอื่น ๆ ด้วย

 

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นซึ่งสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นมากที่สุด ได้แก่ รังไข่บวม เนื่องจากได้รับฮอร์โมนกระตุ้นมากเกินไป การตั้งครรภ์นอกมดลูก เพราะไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ในท่อนำไข่แทนที่จะเป็นมดลูก เกิดความเครียด เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง การได้รับผลข้างเคียงจากยาซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบและอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก เสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ในขั้นตอนการเก็บไข่ เช่น การติดเชื้อ เลือดออก มีโอกาสตั้งครรภ์แฝด ซึ่งหากสุขภาพของคุณแม่ไม่แข็งแรง ก็อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยได้ ซึ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ที่รักษาภาวะมีบุตรยากได้รับการดูแลจากแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกอย่างใกล้ชิด โอกาสเสี่ยงต้องประสบปัญหาเหล่านี้ก็จะลดน้อยลง

 

สำหรับขั้นตอนก่อนการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF นั้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ นอนให้มีคุณภาพ คือเข้านอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม และควรนอนอย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมง ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มผัก และผลไม้ งดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

 

จากนั้นเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF ขั้นแรกคือการกระตุ้นไข่ แพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกจะตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน และทำอัลตร้าซาวด์ พร้อมกับฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน จากนั้นแพทย์จะนัดอัลตร้าซาวด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของไข่ และตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นระยะ โดยจะใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาน 8 - 10 วัน

 

ขั้นตอนที่ 2 คือการเก็บไข่ หลังจากมีการกระตุ้นไข่ด้วยฮอร์โมนจนไข่เจริญเติบโตจนได้ขนาดตามต้องการ แพทย์จะทำการเจาะเก็บไข่จากรังไข่ โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด และใช้อัลตร้าซาวด์ช่วยบอกทิศทาง แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกระยะสั้นทางหลอดเลือด หรือวางยาสลบ เพื่อป้องกันความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างทำใช้เวลาเก็บไข่ ไม่เกิน 20 - 30 นาที

 

ในขณะเดียวกัน คุณพ่อจะต้องเก็บอสุจิใส่ภาชนะที่แพทย์เตรียมให้ เพื่อนำมาคัดแยกเฉพาะอสุจิที่สมบูรณ์นำมาผสมกับไข่ในห้องทดลอง และตรวจดูการปฏิสนธิต่อไป กรณีที่ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อน้อยหรือคุณภาพของอสุจิน้อยกว่ามาตรฐานมาก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่ไข่จะไม่ได้รับการผสม ควรใช้วิธีการคัดเลือกอสุจิเพียงตัวเดียวฉีดเข้าไปในไข่ โดยไม่ต้องรอให้ปฏิสนธิกันเองเรียกวิธีนี้ว่า อิ๊กซี่ (ICSI)

 

ขั้นตอนที่ 3 แพทย์จะทำการการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน เมื่อเกิดการปฏิสนธิไข่กับอสุจิจนเป็นตัวอ่อนแล้ว จะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการต่อจนเจริญเติบโต แบ่งเซลล์เป็น 6 – 8 เซลล์ ใช้เวลาประมาณ 3 วันหลังปฏิสนธิ และเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะบลาสโตซีสต์ ใช้เวลาประมาณ 5 วันหลังปฏิสนธิ

 

จากนั้นในขั้นตอนที่ 4 แพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกจะทำการการย้ายตัวอ่อน คือการนำตัวอ่อนย้ายเข้าโพรงมดลูกด้วยการใส่เครื่องมือทางช่องคลอด เหมือนกับการตรวจภายใน ขั้นตอนนี้ไม่ต้องให้ยาระงับปวดหรือยานอนหลับ การใส่ตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก อาศัยเครื่องอัลตร้าซาวด์ในการบอกตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะว่างตัวอ่อนในโพรงมดลูก ปกติแล้วเราย้ายตัวอ่อนได้ 2 ระยะคือตัวอ่อนอายุ 3 หรือ 5 วัน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 15 - 20 นาที หลังจากนั้นแพทย์จะให้นอนพักประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แล้วกลับไปพักต่อที่บ้านอีก 12 – 24 ชั่วโมง คุณแม่สามารถทำงานเบา ๆ ได้ แต่ต้องไม่มีการเกร็งหน้าท้องหลังย้ายตัวอ่อนแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

 

อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดด้วย หลังจากนั้น แพทย์จะนัดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ประมาณ 7 -10 วันให้หลัง ที่สำคัญห้ามรับประทานยาอื่น ๆ นอกเหนือจากที่แพทย์กำหนด และหากมีอาการผิดปกติ เช่นมีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องน้อยมาก ควรปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด

 

หลังได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยาก ทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ไม่ควรยกของหนักและ ออกกำลังกายหักโหม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดความวิตกกังวล ความเครียด รับประทานยา และ ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิก

 

นอกจากนี้ในบางกรณีแพทย์จะมีการแช่แข็งตัวอ่อนร่วมด้วย การแช่แข็งตัวอ่อนที่เหลือจากการย้ายตัวอ่อน ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยให้โอกาสในการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วในปัจจุบันสูงกว่าในอดีตค่อนข้างมาก ด้วยวิธีการแช่แข็งตัวอ่อนที่ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานาน ในปัจจุบันสามารถเก็บรักษาตัวอ่อนไว้ได้นานหลายปี สามารถกลับมาย้ายตัวอ่อนในภายหลังได้เป็นเวลาหลายปีโดยที่ยังมีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ต้องกระตุ้นไข่ใหม่ เยื่อบุที่เจริญพัฒนาขึ้นมาในรอบย้ายตัวอ่อนแช่แข็งจะมีการเจริญเติบโตที่เหมือนธรรมชาติซึ่งต่างกับเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญขึ้นมาในรอบกระตุ้นไข่ซึ่งมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตมากเกินไปตามการเจริญเติบโตของไข่ได้ ดังนั้นการย้ายตัวอ่อนสดจึงเสี่ยงที่เยื่อบุจะมีการเจริญพัฒนาที่มากเกินไปตามการเจริญเติบโตของไข่ ทำให้ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ดังนั้นการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งจึงอาจจะให้ผลสำเร็จมากกว่าการย้ายตัวอ่อนสด ในกรณีที่มีการกระตุ้นของไข่่จำนวนหลาย ๆ ใบ

 

ในการรักษาบางกรณี คุณพ่อคุณแม่อาจได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ใช้เทคโนโลยีการรักษาเพิ่มเติมด้วย เช่น การรักษาอาการหรือภาวะแทรกซ้อน การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกในการรับไข่บริจาค การรับอสุจิบริจาค การตรวจคัดกรองโครโมโซมผิดปกติหรือโรคทางพันธุกรรม การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสดตซีสท์ (Blastocyst Culture) และ บริการแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing)

 

สำหรับปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อาจจะมีตั้งแต่รอบของการรักษาถูกยกเลิกไป เนื่องจากได้ถุงไข่จำนวนน้อยเกินไปหรือมากเกินไปจนทำให้รังไข่บวมโต มีน้ำในช่องท้องหรือช่องปอด ไข่ที่เก็บได้ไม่มีการปฏิสนธิ มีการติดเชื้อจากการเก็บไข่หรือขั้นตอนการใส่ตัวอ่อน การตั้งครรภ์แฝดประมาณ 15-20% และการแท้งซึ่งมีโอกาสแท้งได้สูงกว่าคนทั่วไปบ้างเล็กน้อย

 

ส่วนเคล็ดลับในการเตรียมตัวก่อนทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF นั้น ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกเพื่อปรึกษาขอคำแนะนำและตรวจวินิจฉัยปัจจัยต่าง ๆ ว่าสามารถทำได้หรือไม่ โดยแพทย์จะพิจารณาประวัติของผู้ป่วยและประวัติการรักษาที่ผ่านมา ข้อดีข้อเสีย ความเสี่ยง โอกาสประสบความสำเร็จ และราคาในการทำ IVF จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายผู้ป่วยและทดสอบคัดกรองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ตรวจทดสอบการทำงานของรังไข่ ตรวจคัดกรองภาวะติดเชื้อ ทดสอบโพรงมดลูก ตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ และทดสอบถ่ายฝากตัวอ่อน

 

แต่ละฝ่ายต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะเข้าการรักษาด้วยการ IVF ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัว การปฏิบัติตนสำหรับฝ่ายหญิงนั้น เพื่อคุณภาพไข่ที่ดีควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละไม่ต่ำกว่า 2 ลิตร และรับประทานโปรตีน อย่างน้อยวันละประมาณ 60 มิลลิกรัม ทุกครั้งที่มีการกินยาเพื่อบรรเทาอาการป่วย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน พักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ควรงดแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา

 

ส่วนการปฏิบัติตนสำหรับฝ่ายชายนั้น ไม่ควรสวมใส่กางเกงชั้นในที่แน่นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการลงแช่อ่างน้ำอุ่นและการทำซาวน่า พักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ไม่เครียดจนเกินไป ทำจิตใจให้สบาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่โหมแรงหนักเกินไป งดสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ 3 เดือนขึ้นไปเช่นเดียวกับฝ่ายหญิง ควรงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 3 วันก่อนการเก็บเชื้ออสุจิเพื่อตรวจหรือเพื่อนำไปใช้ผสมกับไข่ด้วย

 

อ้างอิง

https://bit.ly/3n40yWs

https://www.phyathai-sriracha.com/pytsweb/index.php?page=modules/knowledgepage&knowid=431

https://bit.ly/3xzBFXE

https://bit.ly/3xEfpvQ

https://bit.ly/3OnnkF7

 

 

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

กับศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจินตบุตร